วันเสาร์ที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2552

พิธีรักษาศีลอุโบสถ ( ศีล 8 ) ชาวพุทธควรรู้

พิธีรักษาอุโบสถ

อุโบสถ หมายความว่า การจำศีล คือการรักษาศีล 8 เพื่อขัดเกลากิเลสหยาบๆ ให้เบาบาง มี 2 อย่าง คือ :
1. ปกติอุโบสถ เดือนละ 4 วัน คือ ขึ้น 8 ค่ำ, ขึ้น 15 ค่ำ, แรม 8 ค่ำ, แรม 14 ค่ำ ในเดือนเลขคี่
หรือแรม 15 ค่ำ ในเดือนเลขคู่ ( เดือนเลขคี่ เช่นเดือน 7, เดือนเลขคู่ เช่นเดือน 8 )
2. ปฏิชาครอุโบสถ คือ เพิ่มข้างหน้า 1 วัน ข้างหลัง 1 วัน รวมเป็นคราวละ 3 วัน เดือนละ 4 คราว,
จึงเป็นเดือนละ 12 วัน เช่น ปกติอุโบสถมีในวัน 8 ค่ำ เพิ่ม 7 ค่ำ และ 9 ค่ำ เข้ามา ก็เป็นปฏิชาครอุโบสถ
การรักษาศีล ๘ ข้อ ในวันที่กำหนดนี้ ชื่อว่า "รักษาอุโบสถ"

----------------------------------------------------------------------------------------------------------

การรักษาอุโบสถ มีพิธีต่อไปนี้

1. พึงตื่นนอนแต่ก่อนอรุณขึ้น เตรียมตัวให้สะอาดเรียบร้อย บูชาพระตั้งแต่รุ่งอรุณ
เปล่งวาจาด้วยตนเองก่อนว่า
"อิมัง อัฏฐังคะสะมันนาคะตัง พุทธะปัญญัตตัง อุโปสะถัง,
อิมัญจะ รัตติง อิมัญจะ ทิวะสัง สัมมะเทวะ อะภิรักขิตุง สะมาทิยามิ"
2. ไปวัด เข้าสู่โบสถ์ หรือวิหาร หรือศาลา เป็นต้น ซึ่งทางวัดจัดเตรียมไว้
ได้เวลาประมาณ 09.00 น. พระก็ลงโบสถ์ ทำวัตรเช้าจบแล้ว อุบาสก-อุบาสิกา ก็ทำวัตรเช้า
ทำวัตรจบแล้ว หัวหน้าอุบาสกนั่งคุกเข่า ประนมมือ ประกาศองค์อุโบสถ ว่า

"อัชชะ โภนโต ปักขัสสะ อัฏฐะมีทิวะโส (ถ้าวันพระ 15 ค่ำว่า ปัณณะระสีทิวะโส
14 ค่ำว่า จาตุททะสีทิวะโส) เอวะรูโป โข โภนโต ทิวะโส พุทเธนะ ภะคะวะตา ปัญญัตตัสสะ
ธัมมัสสะวะนัสสะ เจวะ ตะทัตถายะ อุปาสะกะอุปาสิกานัง อุโปสะถัสสะ จะ กาโล โหติ หันทะ มะยัง
โภนโต สัพเพ อิธะ สะมาคะตา ตัสสะ ภะคะวะโต ธัมมานุธัมมะปะฏิปัตติยา ปูชะนัตถายะ อิมัญจะ รัตติง
อิมัญจะ ทิวะสัง อัฏฐังคะสะมันนาคะตัง อุโปสะถัง อุปะวะสิสสามาติ กาละปะริจเฉทัง กัตวา ตัง ตัง
เวระมะณิง อารัมมะณัง กะริตวา อะวิกขิตตะจิตตา หุตวา สักกัจจัง อุโปสะถัง สะมาทิเยยยามะ
อีทิสัง หิ อุโปสะถัง สัมปัตตานัง อัมหากัง ชีวิตัง มา นิรัตถะกัง โหตุ"
คำแปล
ขอประกาศเริ่มเรื่องความที่จะสมาทานรักษาอุโบสถ อันพร้อมไปด้วยองค์แปดประการ
ให้สาธุชนที่ได้ตั้งจิตสมาทานทราบทั่วกันก่อน แต่สมาทาน ณ บัดนี้ ด้วยวันนี้เป็น วันอัฏฐะมีดิถีที่แปด
(ถ้าวันพระ 15 ค่ำว่า วันปัณณะระสีดิถีที่สิบห้า 14 ค่ำว่า วันจาตุททะสีดิถีที่สิบสี่) แห่งปักษ์มาถึงแล้ว
ก็แหละวันเช่นนี้ เป็นกาลที่สมเด็จพระผู้มีภาคเจ้าทรงบัญญัติแต่งตั้งไว้ ให้ประชุมกันฟังธรรม
และเป็นกาลที่จะรักษาอุโบสถของอุบาสก อุบาสิกาทั้งหลาย เพื่อประโยชน์แก่การฟังธรรมนั้นด้วย
เชิญเถิดเราทั้งหลายทั้งปวงที่ได้มาประชุมพร้อมกัน ณ ที่นี้ พึงกำหนดกาลว่าจะรักษาอุโบสถตลอดวันหนึ่ง
กับคืนหนึ่งนี้ แล้วพึงทำความเว้นโทษนั้น ๆ เป็นอารมณ์ คือ
เว้นจากฆ่าสัตว์ 1
เว้นจากลักฉ้อสิ่งที่เจ้าของเขาไม่ให้ 1
เว้นจากประพฤติกรรมที่เป็นข้าศึกแก่พรหมจรรย์ 1
เว้นจากเจรจาคำเท็จล่อลวงผู้อื่น 1
เว้นจากดื่มสุราเมรัยอันเป็นเหตุที่ตั้งแห่งความประมาท 1
เว้นจากบริโภคอาหาร ตั้งแต่เวลาพระอาทิตย์เที่ยงแล้วไปจนถึงเวลาอรุณขึ้นมาใหม่ 1
เว้นจากฟ้อนรำขับร้องและประโคมเครื่องดนตรีต่างๆ แด่บรรดาที่เป็นข้าศึกแก่บุญกุศลทั้งสิ้น
และทัดทรงประดับตกแต่งร่างกายด้วยดอกไม้ของหอม เครื่องประดับ เครื่องทา เครื่องย้อม
ผัดผิวทำกายให้วิจิตรงดงามต่างๆ อันเป็นเหตุที่ตั้งแห่งความกำหนัดยินดี 1
เว้นจากนั่งนอนเหนือเตียงตั่งม้าที่มีเท้าสูงเกินประมาณ และที่นั่งที่นอน ใหญ่ ภายในมีนุ่นและสำลี
และเครื่องปูลาดที่วิจิตรด้วยเงินและทองต่างๆ 1

อย่าให้มีจิตฟุ้งซ่านส่งไปอื่น พึงสมาทานเอาองค์อุโบสถทั้งแปดประการโดยเคารพ
เพื่อจะบูชาสมเด็จพระผู้มีพระภาคพระพุทธเจ้านั้นด้วยธรรมมานุธรรมปฏิบัติ อนึ่ง ชีวิตของเราทั้งหลายที่ได้เป็นอยู่รอด
มาถึงวันอุโบสถเช่นนี้ จงอย่าได้ล่วงไปเสียเปล่าจากประโยชน์เลย

เมื่อประกาศใกล้จบ พระผู้แสดงธรรมขึ้นนั่งบนธรรมาสน์, อุบาสก-อุบาสิกาทุกคนคุกเข่ากราบ 3 ครั้ง
แล้วกล่าวคำอาราธนา (ขอ) อุโบสถศีล ว่า
"มะยัง ภันเต ติสะระเณนะ สะหะ อัฏฐังคะสะมันนาคะตัง, อุโปสะถัง ยาจามะ (ว่า 3 จบ)"

รับศีลอุโบสถ แล้วว่าตามพระสงฆ์ที่บอกเป็นตอนๆ ว่า
นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ (3 จบ)
พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ
ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ
สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ
ทุติยัมปิ พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ
ทุติยัมปิ ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ
ทุติยัมปิ สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ
ตะติยัมปิ พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ
ตะติยัมปิ ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ
ตะติยัมปิ สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ

เมื่อพระสงฆ์ว่า ติสะระณะคะมะนัง นิฏฐิตัง พึงรับพร้อมกันว่า อามะ ภันเต
1. ปาณาติปาตา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ
2. อะทินนาทานา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ
3. อะพรัหมะจะริยา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ
4. มุสาวาทา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ
5. สุราเมระยะมัชชะปะมาทัฏฐานา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ
6. วิกาละโภชะนา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ
7. นัจจะคีตะวาทิตะวิสูกะทัสสะนา มาลาคันธะวิเลปะนะธาระณะ มัณฑะนะวิภูสะนัฏฐานา เวระมะณี
สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ
8. อุจจาสะยะนะมะหาสะยะนา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ
อิมัง อัฏฐังคะสะมันนาคะตัง, พุทธะปัญญัตตัง อุโปสะถัง, อิมัญจะ รัตติง อิมัญจะ ทิวะสัง,
สัมมะเทวะ อะภิรักขิตุง สะมาทิยามิ (หยุดรับเพียงเท่านี้)

ตอนนี้ พระสงฆ์จะว่า อิมานิ อัฏฐะ สิกขาปะทานิ อุโปสะถะวะเสนะ มะนะสิกะริตวา สาธุกัง อัปปะมาเทนะ รักขิตัพพานิ
(พึงรับพร้อมกันว่า) อามะ ภันเต (พระสงฆ์ว่าต่อ)
สีเลนะ สุคะติง ยันติ สีเลนะ โภคะสัมปะทา
สีเลนะ นิพพุติง ยันติ ตัสมา สีลัง วิโสธะเย

อุบาสก-อุบาสิกา กล่าวคำว่า " สาธุ" กราบ 3 ครั้ง นั่งราบ ประนมมือฟังธรรมต่อไป

เมื่อพระแสดงธรรมจบ ทุกคนให้สาธุการ และสวดประกาศตนพร้อมกันว่า
สาธุ สาธุ สาธุ
อะหัง พุทธัญจะ ธัมมัญจะ สังฆัญจะ สะระณัง คะโต (หญิงว่า คะตา)
อุปาสะกัตตัง (หญิงว่า อุปาสิกัตตัง) เทเสสิง ภิกขุสังฆัสสะ สัมมุขา
เอตัง เม สะระณัง เขมัง เอตัง สะระณะมุตตะมัง
เอตัง สะระณะมาคัมมะ สัพพะทุกขา ปะมุจจะเย
ยะถาพะลัง จะเรยยาหัง สัมมาสัมพุทธะสาสะนัง
ทุกขะนิสสะระณัสเสวะ ภาคี อัสสัง (หญิงว่า ภาคินิสสัง) อะนาคะเต
(เสร็จพิธีตอนเช้าเพียงเท่านี้)

--------------------------------------------------------------------------------------------------------

ถวายภัตตาหารเพลแด่พระสงฆ์ ตนเองก็รับประทานอาหารให้เสร็จก่อนเที่ยง,
ครั้นถึงเวลาบ่ายหรือเย็น (ประมาณ 15.00 น. หรือสุดแล้วแต่จะนัดกัน)
ประชุมกันทำวัตรค่ำ, ถ้ามีพระมาเทศน์โปรด หัวหน้าอุบาสกคุกเข่ากราบพระ 3 ครั้ง กล่าวคำอาราธนาพิเศษหรือธรรมดา

คำอาราธนาธรรม (พิเศษ)
จาตุททะสี ปัณณะระสี ยา จะ ปักขัสสะ อัฏฐะมี
กาลา พุทเธนะ ปัญญัตตา สัทธัมมัสสะวะนัสสิเม
อัฏฐะมี โข อะยันทานิ สัมปัตตา อะภิลักขิตา
เตนายัง ปะริสา ธัมมัง โสตุง อิธะ สะมาคะตา
สาธุ อัยโย ภิกขุสังโฆ กะโรตุ ธัมมะเทสะนัง
อะยัญจะ ปะริสา สัพพา อัฏฐิกัตวา สุณาตุ ตันติ
หมายเหตุ : วัน 8 ค่ำ ว่า อัฏฐะมี โข... วัน 14 ค่ำ ว่า จาตุททะสี... วัน 15 ค่ำ ว่า ปัณณะระสี...

คำอาราธนาธรรม (ธรรมดา)
พรหฺมา (อ่านว่า พรัม-มา) จะ โลกาธิปะตี สะหัมปะติ
กัตอัญชะลี อันธิวะรัง อะยาจะถะ
สันตีธะ สัตตาปปะระชักขะชาติกา
เทเสตุ ธัมมัง อะนุกัมปิมัง ปะชัง

เมื่อพระเทศน์จบ ทุกคนพึงให้สาธุ สวดประกาศตนเหมือนภาคเช้าและสวดคำขอขมาพระรัตนตรัยว่า
กาเยนะ วาจายะ วะ เจตะสา วา พุทเธ กุกัมมัง ปะกะตัง มะยา ยัง พุทโธ ปะฏิคคัณหะตุ อัจจะยันตัง
กาลันตะเร สังวะริตุง วะ พุทเธ (กล่าวครั้งที่ 2 เปลี่ยน พุทเธ เป็น ธัมเม ครั้งที่ 3 เป็น สังเค)

--------------------------------------------------------------------------------------------------------

เมื่อเสร็จพิธีภาคเช้าหรือภาคค่ำแล้ว ก่อนจะกลับบ้าน พึง กล่าวคำลาต่อพระผู้เทศน์ ว่า
"หันทะทานิ มะยัง ภันเต อาปุจฉามะ, พะหุกิจจา มะยัง พะหุกะระณียา"
พระผู้เทศน์ ถ้ามีพรรษาสูงสุดกว่าองค์อื่นๆ ในที่ประชุมนั้น พึงกล่าวคำอนุญาต
แต่ถ้ามีพรรษาน้อย ก็ต้องให้พระองค์ที่มีพรรษาสูงสุดเป็นผู้กล่าวคำอนุญาตว่า
"ยัสสะทานิ ตุมเห กาลัง มัญญะถะ"
ผู้ลาพึงรับว่า สาธุ ภันเต แล้วกราบ 3 ครั้ง เป็นอันเสร็จพิธีบริบูรณ์

เรียบเรียงจาก http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=13263

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น