วันเสาร์ที่ 6 มิถุนายน พ.ศ. 2552

บทสวด หมี เล่อ เจิน จิง

ไฟล์เสียง
http://audio.palungjit.com/showthread.php?t=265

บทสวดศักดิ์สิทธิ์ หมีเล่อเจินจิง
(คัมภีร์สัจจคาถาเมตเตยยะ)

ฝอซัวหมีเล่อจิ้วขู่จิง หมีเล่อเซี่ยซื่อปู้เฟยชิง
หลิ่งเป่าฉีหลู่หลิงซันตี้ เหนี่ยนฮวาอิ้นเจิ้งเข่าซันเฉิง
ลั่วไจ้จงเอวี๋ยนซันซิงตี้ ต้าเจิ้งซื่อชวนอวั๋งเถาซิน
เทียนเจินโซวเอวี๋ยนกว้าเซิ่งเฮ่า เติ่งไต้สือจื้อเตี่ยนเสินปิง
อวิ๋นเหลยเจิ้นไคอู้จี๋ถู่ เทียนเซี่ยเสินกุ่ยปู้อันหนิง
ชินไจ้เหยินเทียนจงฮว๋าหมู่ จิ่วเหลียนเซิ่งเจี้ยวกุยซั่งเฉิง
เทียนฮวาเหลาหมู่ฉุยอวี้เซี่ยน โซวเอวี๋ยนเสี่ยนฮว่าไจ้กู่ตง
หนันเป่ยเหลี่ยงจี๋เหลียนจงซวี่ ฮุ่นเอวี๋ยนกู่เช่อไจ้จงอยัง
เหลาหมู่เจี้ยงเซี่ยทงเทียนเชี่ยว อู๋อิ่งซันเฉียนตุ้ยเหอถง
อิงเอ๋อเหย้าเสี่ยงกุยเจียชวี่ ฉือเนี่ยนตังไหลหมีเล่อจิง
ย่งซินฉือเนี่ยนฝอไหลจิ้ว ตั๋วตั่วจินเหลียนชวี่เชาเซิง
ซึเต๋อซีไหลไป๋หยังจื่อ เซี่ยงเอ๋อเตี๋ยนเถี่ยฮว่าเฉิงจิน
เหม่ยยื่อจื้อซินฉังฉือเนี่ยน ซันไจปานั่นปู้ไหลซิน
เหย้าเสี่ยงเฉิงฝอฉินหลี่ไป้ ฉังฉือชงหมิงจื้อฮุ่ยซิน
ซิวทิงเสียเหยินหูซัวฮว่า เหลาซวนอี้หม่าเนี่ยนอู๋เซิง
เหลาหมู่เจี้ยงเซี่ยเจินเทียนโจ้ว ย่งซินฉือเนี่ยนโหย่วเสินทง
หมั่นเทียนซิงโต่วโตวเซี่ยซื่อ อู่ฟังเลี่ยเซียนเซี่ยเทียนกง
เก้อฟังเฉิงหวงไหลตุ้ยเฮ่า เป้าซื่อหลิงถงฉาเตอชิง
ซันกวนต้าตี้ฉือเปยจู้ เซ่อจุ้ยซันเฉาจิ้วจ้งเซิง
จิ้วขู่เทียนจุนไหลจิ้วซื่อ ชินเตี่ยนเหวินปู้เจียตี้เสิน
ปาต้าจินกังไหลฮู่ฝ่า ซื่อเว่ยผูซ่าจิ้วจ้งเซิง
จิ๋นหลิ่งซันซึลิ่วเอวี๋ยนเจี้ยง อู๋ไป่หลิงกวนจิ่นสุยเกิน
ฝูจู้หมีเล่อเฉิงต้าเต้า เป่าอิ้วเซียงเอ๋อเต๋ออันหนิง
เป่ยฟังเจินอู่เหวยเจี้ยงไซว่ ชิงเหลี่ยนหงฝ่าเสี่ยนเสินทง
เฉอฉี่เจ้าฉีเจอยื่อเอวี้ย โถวติ่งเซินหลัวชีเป่าซิง
เวยเจิ้นเป่ยฟังเหวยโซว่โส่ว ซู่ฉิ่งจูเอ้อกว้าเจี่ยปิง
ตาจิ้วเอวี๋ยนเหยินเซียงเอ๋อหนวี่ หั่วกวงลั่วตี้ฮว่าเหวยเฉิน
ซื่อไห่หลงอวั๋งไหลจู้เต้า เก้อเจี้ยเสียงอวิ๋นชวี่เถิงคง
สือฟังเทียนปิงฮู่ฝอเจี้ย เป่าอิ้วหมีเล่อชวี่เฉิงกง
หงหยังเหลี่ยวเต้ากุยเจียชวี่ จ่วนเต้าซันหยังหมีเล่อจุน
อู๋ฮวั๋งชื่อลิ่งจี้เซี่ยเซิง โซวฝูหนันเอี๋ยนกุยเจิ้งจง
ไหลอวั่งเจ้าเซี่ยเจินเอี๋ยนโจ้ว ฉวนเซี่ยตังไหลต้าจั้งจิง
อิงเอ๋อช่าหนวี่ฉังฉือเนี่ยน เสียเสินปู้กั่นไหลจิ้นเซิน
ฉือเนี่ยนอี๋เปี้ยนเสินทงต้า ฉือเนี่ยนเหลี่ยงเปี้ยนเต๋อเชาเซิง
ฉือเนี่ยนซันเปี้ยนเสินกุ่ยพ่า อวั่งเหลี่ยงเสียหมอฮว่าเหวยเฉิน
ซิวฉือเจี๋ยเน่ยสวินลู่จิ้ง เนี่ยนฉี่เจินเอี๋ยนกุยฝอลิ่ง
หนันอู๋เทียนเอวี๋ยนไท่เป่า อาหมีถัวฝอ


หมายเหตุ คนที่จะสวดคัมภีร์สัจจคาถาเมตเตยยะ จะต้องถือศีลกินเจตลอดชีวิตจึงจะมีพุทธานุภาพ ที่ยิ่งใหญ่ หรือถ้าใครที่ยังไม่กินเจ หรือกินบ้างเป็นบางครั้ง ก่อนที่จะสวดก็ขอให้ท่านกินเจก่อน อย่างเช่นถ้าวันนี้จะสวดคัมภีร์สัจจคาถาเมตเตยยะก็ขอให้กินเจในวันนี้แล้วจึงจะสวด

06-พระโพธิสัต(หลิวซิงอวี๋F4).mp3 -

วันศุกร์ที่ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2552

บักฮื้อกับไม้เคาะ

ในสมัยก่อนทุกมีชายคนหนึ่งชื่ออาเป่า เขาอาศัยอยู่บรืเวณเชิงเขา ตอนเช้าทุกวัน เขาจะแบกจอบไปทำนาบนไหล่เขา


มีอยู่วันหนึ่งเมื่อไปถึงที่นาแล้ว เขาได้ยินเสียวร้องที่โศกสลดของกบ จึงเดินไปตามทางที่ได้ยินเสียงนั้นและ
ได้เห็นงูตังหนึ่งกำลังงับกบตัวหนึ่งอยู่ในปากเขาจึงใช้จอบที่ถืออยู่ตีงูตัวนั้น เพื่อรักษาชีวิตของมัน
มันจึงอ้าปากปล่อยกบตัวนั้นออกไป แล้วมันเองก็เลื้อยหนี

วันเวลาผ่านไปได้สักระยะหนึ่ง ในเย็นวันหนึ่ง ขณะที่อาเป่ากำลังเคลิ้มหลับอยู่นั้น ก็ได้ยินเสียงกบร้องดังขึ้นมา เขาไม่สามารถนอนต่อได้
จึงได้ลืมตาขึ้นมาแล้วก็เห็นงูตัวหนึ่งที่มุมมุ้ง อาเป่าจึงรีบลุกขึ้นและตีงูตัวนั้นตายไป

วันเดือนปี ผ่านไปอีกเนิ่นนาน นานจนอาเป่า ลืมเรื่องที่ตีงูตายไปแล้ว อยู่มาวันหนึ่ง เขาได้พบสุนัขที่น่ารักตัวหนึ่งบนถนนเขารู้สึกชอบสุนัขตัวนั้น และเมื่อสุนัขตัวนั้นได้เห็นเขา มันก็เดินตามเขาขึ้นไปด้วย และเมื่ออาเป่าเดินลงเขาเพื่อกลับบ้าน มันก็เดินตามกลับไปด้วย

วันหนึ่งอาเป่าได้พาสุนัขนั้นเดินขึ้นเขาเหมือนเคย ได้ผ่านวัดแห่งหนึ่ง ซึ่งมีพระรูปหนึ่งยืนอยู่หน้าวัด พระรูปนั้นได้พูดกับอาเป่าว่า" ขอให้สุนัขตัวนี้เผ้าประตูวัดได้หรือไม่ " อาเป่าไม่ยินยอม จึงพูดกับพระรูปนั้นไปว่า "ทุกๆวันเจ้าสุนัขตัวนี้มันจะเดินตามกะรผมขึ้นลงเขาด้วยกันถ้าไม่มีมันก็เหมือนกับขาดเพื่อคู่ใจไป เหมือนกับว่าผมกับมันมีสัมพันธ์ต่อกันมาก่อน"

แท้จริงแล้วพระรูปนั้นต้องการแก้เหตุต้นผลกรรมระหว่างอาเป่ากับสุนัขตัวนั้นให้ จึงพูดกับอาเป่าไปว่า "สุนัขตัวนี้คืองูตัวที่ประสกตีตายไป และมันได้เกิดมาเป็นมุนัขตัวนี้ ถ้าหากประสกไม่เชื่อก็คอยดู ในตินกลางคืนของ วัน...เดือน..ปี... ให้ประสกเตรียมถุงใส่น้ำสีแดงวางไว้บนเตียง แล้วนำผ้าห่มคลุมปิดลงไป เมื่อถึงเวลานอนให้ปิดประตู ล็อคกลอนให้เรียบร้อย แล้วแอบมองดูใกล้ๆ ประสกก็จะเข้าใจได้เอง"

เมื่อถึงวันๆนั้นมาถึงแล้ว อาเป่าคิดว่าพระรูปนั้นคงจะไม่โกหกเขา จึงได้ทำตามคำแนะนำของพระรูปนั้น โดยเตรียมถุงน้ำแดง หาฟางมาคลุมทับ และเอาผ้าห่มปิดคลุมไว้อีกที พร้อมทั้งปิดประตูลงกลอน ส่วนตัวเขาเองก็คอยแอบดูอยู่

ไม่นานนัก สุนัขตัวนั้นก็อาละวาดขึ้นมา มันพยายามที่จะตะเกียกตะกาย ปีนป่ายเข้าไปปในห้องนั้นแต่ประตูลงกลอนเอาไว้แล้ว เมื่อมันไม่สามารถเข้าทางประตูได้จึงกระโดดเข้าไปทางหน้าต่างแทน....แล้วจึงกระโจนขึ้นไปบนเตียงทั้งกัดทั้งขย้ำจนถุงน้ำสีแดงนั้นแตก แต่มันก็ยังไม่พอใจแลอาละวาดต่ออย่างน่ากลัว

เมื่ออาเป่าเห็นเช่นนั้น ก็เกิดความโมโห และคิดในใจว่าฉันอุตส่าห์เลี้ยงดูแกเป็นอย่างดี แกก็เดินล้อมหน้าล้อมหลังฉันขึ้นเขาและลงเขาด้วยกัน วันนี้แกกลับจะทำร้ายฉัน ดังนั้นเพียงแค่อารมณืโมโหชั่ววูบ เขาจึงคว้าไม้ท่อนหนึ่งและตีสุนัขตัวนั้นตายไป เป็นการผูกกรรมต่อกันอีกทอดหนึ่ง

วันเวลาผ่านไปอีกระยะหนึ่งอาเป่าก็ลืมเรื่องที่เกิดขึ้นอีกเช่นเคย เช้าตรู่ของวันหนึ่ง อาเป่าก็เดินขึ้นเขาเพื่อไปทำนาด้วยอารมณ์ที่เปิกบานแจ่มใส ขณะที่เดินผ่านวัดแห่งนั้น พระรูปเดินก็ได้ยืนคอยเขาอยู่ที่หน้าประตูวัดแล้ว ท่านได้บอกกับอาป่าว่า "วันนี้ถ้าประสกได้ยินเสียงเรียกชื่อตนเอง จงอย่าได้หันไปมอง" อาเป่าจึงตอบรับไปว่า "ขอรับพระคุณเจ้า" เขาได้เดินขึ้นเขาต่อด้วยอารมณ์ที่สดชื่นแจ่มใส มองดูทิวทัศน์บรรยากาศ ก็รู้สึกว่าสวยงามเป็นพิเศษ ทันใดนั้นเขาก็ได้ยินเสียงเรียกว่า "อาเป่าๆ ๆ" อยู่หลายครั้ง เขาจึงลืมคำพูดกำชับของพระรูปนั้นไป และหันกลับไปมองตามเสียงเรียกชื่อเขานั้น แต่เขาก็ต้องตกในสุดขีด เพราะสิ่งที่เขาเห็นนั้นก็คือสัตว์ประหลาดตัวหนึ่งหัวเป็นคน ตัวเป็นเป็นงู เขาจึงได้วิ่งกลับไปที่วัด เพื่อขอความช่วยเหลือจากพระรูปนั้นนั่นเอง เมื่อถึงวัดพระรูปนั้นจึงได้พูดขึ้นว่า "อาตมากำชับประสกแล้วว่าอย่าหันไปมอง ถ้าประสกทำตามก็จะไม่มีเรื่องอะไร แต่ตอนนี้ได้เกิดเรื่องเสียแล้ว อาตมาก็ไม่สามรถช่วนอะไรได้อีก"

เมื่อได้ฟังอย่างนั้นแล้วอาเป่าจึงคุกเข่าลงกับพื้นและอ้อนวอนขอให้พระท่านช่วยอีกครั้งหนึ่ง พระรูปนั้นจึงได้พูดขึ้นว่า "คืนนี้ประสกจงได้เข้าไปนอนในโอ่งที่อยู่ภายในโบสถ์ ถ้าไม่มีเรื่องอะไรเกิดขึ้น แสดงว่ามันได้ผ่านพ้นไปแล้ว แต่ถ้ายังไม่พ้น แสดงว่าเป็นเหตุต้นผลกรรมของประสกเอง"

เช้าตรู่ของวันรุ่งขึ้นพระรูปนั้นจึงเข้าไปดูภายในโบสถ์ จึงได้เห็นสัตว์ประหลาดตัวนั้นเลื้อยพันอยู่รอบโอ่งและตายแล้ว ท่านจึงนำซากสัตว์นั้นออกจากโอ่งเพื่อช่วยอาเป่า จึงได้เห็นว่าอาเป่านอนตายอยู่ภายในโอ่งนั่นเอง ทั้งตัวกลายเป็นสีดำ ด้วยเมตตาจิตของท่าน ท่านจึงได้นำร่างของอาเป่าและร่างสัตว์ประหลาดตัวนั้นไปฝังไว้อยู่ที่ด้านหลังเขา โดยขุดเป็นหลุมสองหลุมคู่กัน หลุมหนึ่งฝังร่างอาเป่า และอีกหลุมหนึ่งฝังร่างของสัตว์ประหลาดตัวนั้น

วันเวลาผ่านไปได้ระยะหนึ่ง พระรูปนั้นก็ไปดูที่หลุมฝังร่างทั้งสองได้เห็นที่หลุมฝังร่างอาเป่ามีต้นไม้ต้นหนึ่งเกิดขึ้นมาส่วนหลุมฝังร่างสัตว์ประหลาดนั้น ก็มีเถาไม้เลื้อยชนิดหนึ่งอยู่ ไม่ว่าต้นไม้ที่หลุมฝังร่างอาเป่าจะโตเท่าไหน เถาไม้เลื้อยที่หลุมฝังร่างสัตว์ประหลาด ก็จะเลื้อยพันสูงเท่านั้น เมื่อเห็นเช่นนี้แล้ว ท่านจึงนึกในใจว่า เหตุต้นผลกรรมเป็นเรื่องที่มลายได้ยาก หากว่าตอนมีชีวิตอยู่ไม่ยอมปล่อยวาง เมื่อตายไปแล้วก็ยังไม่ยอมปล่อยวางอีก ยังคงอาฆาตแค้นตามติดไปตลอด

ท่านจึงได้ตัดต้นไม้นั้นและเถาไม้เลื้อยนั้น นำมาแกะสลักเป้นบักฮื้อและไม้เคาะบักฮื้อ และนำไปวางไว้หน้าพระพุทธรูป เพื่อต้องการใหสาธุชนที่มาที่วัด ได้รู้ถึงความเป็นมาของเหตุต้นผลกรรม เวลาสวดมนต์ก็จะนำมาใช้เคาะ ให้เกิดเสียงปลุกใจชาวโลกให้ตื่น จึงสรุปได้ว่า "เมื่อมีเหตุต้น ก็ย่อมมีผลกรรม ยากที่จะจบสิ้นเหตุต้นผลกรรมไปได้"

วันเสาร์ที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2552

การ์ตูน .. กฏแห่งกรรม


ผลจาก เป็นคนชอบเยาะหยันด่าขอทาน

ชาตินี้ จึงเกิดมาน่าสงสารต้องอดตาย


ผลจาก เป็นคนพลั้งเผลอไปฆ่าสัตว์โดยไม่ได้ตั้งใจ


ชาตินี้ จึงเกิดมาถูกยั่วยุจากคนชั้นต่ำ

ผลจาก เป็นคนชอบยุแหย่ใส่ไคล้ผู้อื่น
ชาตินี้ จึงต้องอาเจียนเป็นโลหิต
ผลจาก เป็นคนชอบคดโกงในการค้า และโกงตาชั่ง
ชาตินี้ จึงเกิดมาต้องเจ็บปวดเพราะโดนไฟใหม้ หรือฟ้าฝ่าตาย
ผลจาก เป็นคนชอบเลี้ยงสัตว์ขังกรงหรือหน่วงเหนี่ยวไม่ให้บริวารออกไปท่องเที่ยว
ชาตินี้ จึงเกิดในถิ่นที่ด้อยพัฒนา ห่างไกลความเจริญ

ผลจาก ชาติก่อนเคยปิดทองพระ

ชาตินี้ จึงเกิดมามียศถาบรรดาศักดิ์
ผลจาก ชาติก่อนเป็นเปรตหนีมาเกิดเป็นมนุษย์

ชาตินี้ จึงเกิดมาอดอยากยากไร้ หิวโหย หาได้ไม่พอปากพอท้องอดมื้อกินมื้อ
หรือกินแต่ของบูดเน่า ของเหลือเดน
ผลจาก ชาติก่อนเคยอกตัญญูต่อบิดามารดา และผู้มีพระคุณ
ชาตินี้ จึงเกิดมามีอุปสรรคในการดำรงชีวิตมีปัญหาร้อยแปดพันประการ
ผลจาก ชาติก่อนเคยทำร้าย ทุบตี ฆ่าฟันผู้มีพระคุณ
ชาตินี้ จึงเกิดมาเป็นคนที่มีสติวิปลาส คลุ้มคลั่ง
ทำร้ายตัวเองจนได้รับบาดเจ็บ
ผลจาก ชาติก่อนมองผู้ทรงศีล หรือบิดามารดา ด้วยสายตาเหยียดหยามชิงชัง
ชาตินี้ จึงเกิดมามีสายตาสั้น
ผลจาก ชาติก่อนและชาตินี้ เคยใช้เบ็ดตกปลา เมื่อปลา
กินเหยื่อจึงกระตุกอย่างแรงทำให้ปากปลาขาด
ชาตินี้ จึงเกิดมาปากแหว่ง จมูกโหว่

ผลจาก ชาติก่อนเคยเอาโซ่ล่ามคอลิง พันคอดิ้นไม่ หลุดจนเป็นแผลเหวอะหวะ
ชาตินี้ เกิดมาจึงเป็นฝีหรือมะเร็งที่คอ



ผลจาก ชาติก่อนเคยตัดลิ้นนกเอี้ยง นกขุนทอง เพื่อให้พูดได้เหมือนคน

ชาตินี้ เกิดมาจึงมีลิ้นไก่สั้น พูดได้เพียงประโยคสั้นๆ พูดช้า และไม่ชัด

ผลจาก เคยเป็นคนร่วมแรง ร่วมทุนในการก่อสร้างสะพานข้ามแม่น้ำลำคลอง
ชาตินี้ จึงเกิดมาอยู่ในครอบครัวที่มียานพาหนะใช้สอยอย่างสะดวกสบาย
ผลจาก เคยเป็นคนฆ่าคนดีของครอบครัว และสังคม
ชาตินี้ เกิดมาจึงต้องถูกฆ่า ถูกยิง ถูกฟัน พลัดตกจากที่สูง ตายด้วยอุบัติเหตุรถชน รถพลิกคว่ำ
เหตุใด เกิดมามีคู่ครองเป็นคนต่างชาติ
ผลจาก เป็นคนชอบเดินทางไปทำบุญในดินแดนไกล ต่างประเทศ
เหตุใด เกิดมามีใบหน้าขาวผ่องเป็นยองใย ผิวกายงดงาม

ผลจาก เป็นคนชอบกวาดลานวัด
เหตุใด จึงถูกอสรพิษร้ายขบกัด
ผลจาก ชาติก่อนสร้างศัตรูไว้มาก และศัตรูเหล่านั้น มีความอาฆาตพยาบาทสูง
เหตุใด เกิดมาจึงมีรสนิยมต่ำทราม ชอบแก้ผ้านอน ไม่ชอบนอนบนฟูกอันสะอาด
ผลจาก เป็นคนมีนิสัยไม่สำรวมกาย วาจา ใจ ใน ระหว่างการทำบุญ เช่น โยนอาหารใส่บาตร

ที่มา http://www.dek-d.com/board/view.php?id=1018436

พรหมวิหาร 4

พรหมวิหาร วิหาร แปลว่า ที่อยู่ พรหม แปลว่า ประเสริฐ คำว่า พรหมวิหาร หมายความว่า เอาใจจับอยู่ในอารมณ์แห่งความประเสริฐ หรือเอาใจไปขังไว้ในความดีที่สุด ซึ่งมีคุณธรรม 4 ประการ คือ


เมตตา
กรุณา
มุทิตา
อุเบกขา
คุณธรรม 4 ประการนี้ นอกจากความเป็นมนุษย์ผู้เประเสริฐแล้ว ยังเป็นอานิสงส์ความสุขแก่ผู้ปฏิบัติถึง 11 ประการ ดังนี้


สุขัง สุปฏิ นอนหลับเป็นสุข เหมือนนอนหลับในสมาบัติ
ตื่นขึ้นมีความสุข ไม่มีความขุ่นมัวในใจ
นอนฝัน ก็ฝันเป็นมงคล
เป็นที่รักของมนุษย์ เทวดา พรหม และภูติผีทั้งหลาย
เทวดา พรหม จะรักษาให้ปลอดภัยจากอันตรายทั้งปวง
จะไม่มีอันตรายจากเพลิง สรรพาวุธ และยาพิษ
จิตจะตั้งมั่นในอารมณ์สมาธิเป็นปกติ สมาธิที่ได้ไว้แล้วจะไม่เสื่อม มีแต่จะเจริญยิ่งขึ้น
มีดวงหน้าผุดผ่องเป็นปกติ
เมื่อจะตาย จะมีสติสัมปชัญญะสมบูรณ์
ถ้ามิได้บรรลุมรรคผลในชาตินี้ ผลแห่งการเจริญพรหมวิหาร 4 นี้ จะส่งผลให้ไปเกิดในพรหมโลก
มีอารมณ์แจ่มใส จิตใจปลอดโปร่ง ทรงสมาบัติ วิปัสสนา และทรงศีลบริสุทธิ์
เมตตา แปลว่า ความรัก หมายถึง รักที่มุ่งเพื่อปรารถนาดี โดยไม่หวังผลตอบแทนใด ๆ จึงจะตรงกับคำว่า เมตตาในที่นี้ ถ้าหวังผลตอบแทนจะเป็นเมตตาที่เจือด้วยกิเลส ไม่ตรงต่อเมตตาในพรหมวิหารนี้

ลักษณะของเมตตา ควรสร้างความรู้สึกคุมอารมณ์ไว้ตลอดวัน ว่า เราจะเมตตาสงเคราะห์ เพื่อนที่เกิด แก่ เจ็บ ตาย จะไม่สร้างความลำบากให้แก่สรรพสัตว์ทั้งหลาย ความทุกข์ที่เขามี เราก็มีเสมอเขา ความสุขที่เขามี เราก็สบายใจไปกับเขา รักผู้อื่นเสมอด้วยรักตนเอง

กรุณา แปลว่า ความสงสาร หมายถึง ความปรานี ปรารถนาให้ผู้อื่นพ้นทุกข์ ความสงสารปรานีีนี้ก็ไม่หวังผลตอบแทนเช่นเดียวกัน สงเคราะห์สรรพสัตว์ที่มีความทุกข์ให้หมดทุกข์ตามกำลังกาย กำลังปัญญา กำลังทรัพย์

ลักษณะของกรุณา การสงเคราะห์ทั้งทางด้านวัตถุ โดยธรรม ว่าผู้ที่จะสงเคราะห์๋นั้นขัดข้องทางใด หรือถ้าหาให้ไม่ได้ ก็ชี้ช่องบอกทาง

มุทิตา แปลว่า มีจิตอ่อนโยน หมายถึง จิตที่ไมีความอิจฉาริษยาเจือปน มีอารมณ์สดชื่นแจ่มใสตลอดเวลา คิดอยู่เสมอว่า ถ้าคนทั้งโลกมีความโชคดีด้วยทรัพย์ มีปัญญาเฉลียวฉลาดเหมือนกันทุกคนแล้ว โลกนี้จะเต็มไปด้วยความสุข สงบ ปราศจากอันตรายทัั้งปวง คิดยินดี โดยอารมณ์พลอยยินดีนี้ไม่เนื่องเพื่อผลตอบแทน การแสดงออกถึงความยินดีในพรหมวิหาร คือไม่หวังผลตอบแทนใด ๆ ทั้งสิ้น

อุเบกขา แปลว่า ความวางเฉย นั่นคือ มีการวางเฉยต่ออารมณ์ที่มากระทบความวางเฉยในพรหมวิหารนี้ หมายถึง เฉยโดยธรรม คือทรงความยุติธรรมไม่ลำเอียงต่อผู้ใดผู้หนึ่ง


คนที่มีพรหมวิหาร 4 สมบููรณ์ ศีลย่อมบริสุทธิ์
คนที่มีพรหมวิหาร 4 สมบูรณ์ ย่อมมีฌานสมาบัติ
คนที่มีพรหมวิหาร 4 สมบูรณ์ เพราะอาศัยใจเยือกเย็น ปัญญาก็เกิด

ความมหัศจรรย์แห่ง "อุโบสถศีล"


ความมหัศจรรย์แห่ง "อุโบสถศีล"

อุโบสถศีล เป็นศีล สำหรับ

1.ฆราวาสผู้ครองเรือน ซึ่งปรารถนาความสุขอันยอดเยี่ยมในกาลปัจจุบันและอนาคต

2.ผู้สะสมบารมี เพื่อรู้ธรรมเห็นธรรมและบรรลุมรรคผลนิพพาน

ความมหัศจรรย์แห่งอุโบสถศีล
นางเอกุโปสติกาภิกษุณี ออกบวชเมื่ออายุได้ 7 ปี บวชแล้วไม่ทันถึงครึ่งเดือน นางก็ได้บรรลุธรรมเป็นพระอรหันต์ หมดสิ้นอาสวะกิเลส ไม่ต้องเวียนว่ายตายเกิดอีกต่อไป

.. หลายคนสงสัยว่า เหตุใดนางจึงได้บรรลุธรรมรวดเร็วอย่างนั้น
นางจึงเล่าประวัติ การเวียนว่ายตายเกิดของนางว่า เมื่อ 91กัปป์ที่ผ่านมา มีพระพุทธเจ้าอุบัติขึ้นในโลกมาแล้ว 7 พระองค์ คือ พระวิปัสสีพุทธเจ้า พระสิขีพุทธเจ้า พระกกุสันโธพุทธเจ้า พระโกนาคมโนพุทธเจ้า พระกัสสปะพุทธเจ้า และพระโคตมะพุทธเจ้า ของเราในสมัยนี้
ในสมัยพระเจ้าวิปัสสีพุทธเจ้า นางเอกุโปสติกาภิกษุณี เกิดเป็นหญิงรับใช้ของพระเจ้าพันธุมมะ ผู้ครองนครพันธุมดี นางได้เห็นพระเจ้าพันธุมมะ พร้อมด้วยอำมาตย์ ข้าราชบริพาร ทรงสละราชกิจมาสมาทานรักษาอุโบสถศีลในวันพระ นางคิดว่า อุโบสถศีลนี้ น่าจะเป็นของดีวิเศษ เจ้าฟ้ามหากษัตริย์จึงสนใจสมาทานรักษาเป็นประจำ นางคิดได้ดังนี้ จึงศึกษา และทำใจร่าเริงสมาทานรักษาอุโบสถศีลเป็นประจำทุกวันพระ

ผลของการรักษาอุโบสถศีล ทำให้นางได้ไปเกิดในสวรรค์ชั้น ดาวดึงส์ มีวิมานอันสวยงาม มีนางฟ้าแสนนางเป็นบริวาร มีผิวพรรณผุดผ่องดั่งทองคำ มีความงามยิ่งกว่านางฟ้าอื่นๆ ระหว่างที่นาง ยังท่องเที่ยวเวียนว่ายตายเกิดอยู่ ไม่ว่าจะเกิดในภพใดชาติใด นางจะเป็นผู้ประเสริฐในที่ทุกสถานทุกภพทุกชาติ ได้ที่อยู่อาศัยเป็นเรือนยอดปราสาทมณฑป ได้ดอกไม้เครื่องหอม เครื่องลูบไล้ ของกินของใช้ไม่เคยอดอยาก ภาชนะเครื่องใช้ทำด้วยเงินทองแก้วผลึกแก้วปทุมราช ผ้าไหมผ้าฝ้ายผ้าเปลือกไม้ล้วนแต่งามวิจิตรมีราคาสูง พาหนะ ช้าง ม้า รถ มีครบบริบูรณ์ ทุกอย่างเป็นผลบุญที่เกิดขึ้นจากการรักษาอุโบสถศีลในวันพระของนาง ตลอดเวลา 91กัปป์ นางมิได้ไปเกิดในทุคติภูมิเลย

พระพุทธองค์ตรัสว่า " ดูกร ภิกษุทั้งหลาย อุโบสถศีลประกอบด้วยองค์แปดที่บุคคลสมาทานรักษาแล้วย่อมมีผลยิ่งใหญ่ มีอานิสงส์มหาศาล มีความเจริญรุ่งเรืองยิ่งนัก มีผลอานิสงส์แผ่ไพศาลมาก "

อุโบสถศีล เลิศกว่าสมบัติพระเจ้าจักรพรรดิ์

บรรดาคนร่ำรวยที่สุดในโลก มหาเศรษฐี มีทรัพย์สินเงินทองมากมายมหาศาลเพียงใดก็ตาม ความร่ำรวยเหล่านั้น เมื่อเปรียบเทียบกับทรัพย์สมบัติของพระเจ้าจักรพรรดิ์แล้ว ย่อมเป็นของเล็กน้อย ทรัพย์สมบัติของเศรษฐีทุกคนในโลกรวมกัน ก็ไม่เท่าทรัพย์สมบัติของพระเจ้าจักรพรรดิ์

ทรัพย์สมบัติของพระเจ้าจักรพรรดิ์ เมื่อเปรียบเทียบกับผลของการรักษาอุโบสถศีล ย่อมเป็นของเล็กน้อย คือ ไม่ถึงเสี้ยวที่ 16 ของผลบุญที่เกิดจากการรักษาอุโบสถศีล

เพราะ สมบัติของพระเจ้าจักรพรรดิ์เป็นสมบัติมนุษย์ เป็นสมบัติหยาบ เป็นความสุขหยาบ ใช้เวลาเสวยอย่างมากไม่เกินร้อยปี แต่ผลของอุโบสถศีล เป็นเหตุให้ได้สมบัติทิพย์ ความสุขก็เป็นทิพย์ด้วย การเสวยสมบัติทิพย์ กินเวลายาวนานเป็นกัปป์เป็นกัลป์ บางทีเป็นนิรันดร์(นิพพานสมบัติ)

ดังนั้น ชาย หญิงทั้งหลาย ผู้ได้สมาทานรักษาอุโบสถศีลย่อมได้ชื่อว่า ทำความดีอันมีความสุข เป็นกำไร ไม่มีคนดีที่ไหนจะติเตียนได้ เมื่อสิ้นชีพไปแล้วย่อมเข้าถึงสวรรค์หกชั้น ชั้นใดชั้นหนึ่ง

วิธีการรักษาอุโบสถศีล
เมื่อวันพระเวียนมาถึง ให้ทำความตั้งใจว่า วันนี้เราจะรักษาอุโบสถศีล เป็นเวลาสิ้นวันหนึ่งกับคืนหนึ่ง คือตั้งแต่เช้าวันพระจนถึงเช้าวันรุ่งขึ้น

เจตนาละเว้นจากความชั่วทางกายวาจานั้นแลคือตัวศีล

โดยปกติ วันพระ อุบาสก อุบาสิกา จะพากันไปสมาทานอุโบสถศีลที่วัด พักอาศัยอยู่ที่วัดวันหนึ่งกับคืนหนึ่ง ถ้าไม่ได้ไปวัดก็ให้ทำสมาทานวิรัติ หรือเจตนาวิรัติอุโบสถศีลเอาเอง

สมาทานวิรัติ คือ ตั้งใจสมาทานศีลด้วยตนเอง จะรักษากี่วัน กำหนดเอง เว้นจากข้อห้ามของศีลเสียเอง

เจตนาวิรัติ คือ เพียงแต่มีเจตนาเว้นจากข้อห้ามที่ใจเท่านั้น ก็เป็นศีลแล้ว ไม่ต้องใช้เสียงก็ได้

สมาทานวิรัติ ดังนี้
เจตนาหัง ภิกขะเว สีลังวันทามิ สาธุ สาธุ สาธุ คุณพระพุทธ คุณพระธรรม คุณพระอริยสงฆ์ ตั้งแต่เวลานี้ไปจนถึง... ข้าฯ จะตั้งใจรักษาอุโบสถศีล อันประกอบไปด้วยองค์แปดประการ คือ

1. ปานาติปาตา เวรมณี ข้าฯ จะเว้นจากการฆ่าสัตว์ คือไมทำชีวิตสัตว์ให้ตกล่วงไป เป็นการลดการเบียดเบียนซึ่งกันและกัน

2. อทินนาทานา เวรมณี ข้าฯ จะเว้นจากการลักทรัพย์ คือไม่ถือเอาสิ่งของที่เขาไม่ได้ให้ เป็นการลดการเบียดเบียน ทรัพย์สินของผู้อื่น

3. อพรหมจริยา เวรมณี ข้าฯ จะเว้นจากการประพฤติอันเป็นข้าศึกแก่พรหมจรรย์ คือ ไม่เสพเมถุนล่วงมรรคใดมรรคหนึ่ง (ถ้าไม่แตะต้องกายเพศตรงข้าม และไม่จับของต่อมือกันจะช่วยให้การฝึกสติสัมปชัญญะดียิ่งขึ้น)

4. มุสาวาทา เวรมณี ข้าฯ จะเว้นจากการพูดปด คือ พูดไม่ตรงกับความจริง

5. สุราเมระยะมัชชะปะมาทัฏฐานา เวรมณี ข้าฯ จะเว้นจากการดื่มสุราเมรัยของมึนเมาเสียสติ อันเป็นเหตุของความประมาทมัวเมา

6. วิกาลโภชนา เวรมณี ข้าฯ จะเว้นจากการดื่มกินอาหารในเวลาหลังเที่ยงไปแล้วจนถึงเช้าวันรุ่งขึ้น เป็นการลดราคะกำหนัด และลดความง่วงเหงาหาวนอน

7. นัจจคีตวา ทิตตะวิสูกะทัสสะนะ มาลาคันธวิเลปานะ ธารณะ มัณฑะนะ วิภูสะนัฏฐานา เวรมณี ข้าฯ จะเว้นจากการดูละครฟ้อนรำขับร้องประโคมดนตรี ทัดทรงดอกไม้ลูบไล้ของหอม เครื่องย้อมเครื่องทา เครื่องประดับตกแต่งต่างๆ อันปลุกเร้าราคะ กำหนัดให้กำเริบ

8. อุจจา สะยะนะ มะหาสะยะนา เวรมณี ข้าฯ จะเว้นจากการนั่งนอนเครื่องปูลาด อันสูงใหญ่ ภายในยัดด้วยนุ่นหรือสำลี และวิจิตรงดงามต่างๆ เป็นการลดการสัมผัสอันอ่อนนุ่มน่าหลงไหล อดความติดอกติดใจสิ่งสวยงาม มีกิริยาอันสำรวมระวังอยู่เสมอ

ข้าฯ สมาทานวิรัติ ซึ่งอุโบสถศีล อันประกอบด้วยองค์แปดประการนี้ เพื่อจะรักษาไว้ให้ดีมิให้ขาด มิให้ทำลาย สิ้นวันหนึ่งกับคืนหนึ่ง ณ เพลาวันนี้ ขอกุศลส่วนนี้ จงเป็นอุปนิสัยเป็นปัจจัยแก่พระนิพพานในอนาคตกาลเบื้องหน้าโน้นเทอญ สาธุ

เมื่อวิรัติศีลแล้ว พึงรักษา กาย วาจา เว้นการกระทำ ตามที่ได้ตั้งสัตย์ปฏิญาณไว้จนสิ้น กำหนดเวลา พยายามรักษากาย วาจา มั่นอยู่ในศีล อย่าให้ศีลข้อใดข้อหนึ่งขาด หรือทะลุด่างพร้อยมัวหมอง ถ้ากระทำบ่อยๆ และต่อเนื่องยาวนาน ศีลจะอบรมจิตใจให้ตั้งมั่นเป็นสมาธิ สมาธิจะอบรมปัญญาให้แก่กล้า สามารถรู้ธรรมเห็นธรรม บรรลุมรรคผลนิพพานได้..

ปัญหา ในการรักษาศีล 8
คือ กลัวไม่ได้กินอาหารเย็น กลัวหิว กลัวเป็นโรคกระเพาะ กลัวรักษาศีลไม่ได้แล้วจะยิ่งบาป

ที่จริงแล้ว ผู้รักษาศีล 8 สามารถรับประทาน

น้ำปานะ คือ น้ำที่ทำจากผลไม้ ขนาดเล็กเท่าเล็บเหยี่ยว ขนาดใหญ่ไม่เกินส้มโอตำ หรือ คั้นผสมน้ำกรองด้วยผ้าขาวบางให้ดี 8 ครั้ง ผสมเกลือและน้ำตาล พอได้รส หรือ รับประทาน

เภสัช 5 อย่าง คือ เนยใส เนยข้น น้ำมัน น้ำผึ้ง น้ำอ้อย(น้ำตาล)
นอกจากนี้ยังรับประทานสิ่งที่เป็นยาวชีวิก ได้โดยไม่จำกัดกาล คือ รับประทานเป็น

ยาได้แก่ รากไม้ เช่น ขมิ้น ขิง ข่า ตะใคร้ ว่านน้ำ แฝก แห้วหมู
น้ำฝาด เช่น น้ำฝาดสะเดา ใบมูกมัน ใบกระดอม ใบกะเพราหรือแมงลัก ใบฝ้าย ใบชะพลู ใบบัวบก ใบส้มลม
ผลไม้ เช่น ลูกพิลังกาสา ดีปลี พริก สมอไทย สมอพิเภก มะขามป้อม ผลแห่งโกฐ รวมยางไม้จากต้นหิงค์และเกลือต่างๆ

เคล็ดลับในการรักษาศีล 5 ให้สําเร็จ

ศีล 5 เป็นศีลปกติพื้นฐานสำคัญของความเป็นมนุษย์ ส่วนศีลที่แตกออกไปจนถึง 227 ข้อ เป็นการบัญญัติเพื่อความเป็นระเบียบ เป็นวินัย เป็นความพร้อมเพรียงในคณะสงฆ์ แต่หลักจริงๆ คือศีล 5 เป็นศีลที่ทำให้สังคมสงบสุข ปิดกั้นภัยเวรแก่ผู้รักษาศีล ... ที่พวกเรารู้สึกว่ารักษายากขัดกับชีวิตประจำวัน นั่นเป็นเพราะตาใจของเรามันบอดแสง หรือเจ้ากรรมนายเวรมาบังจิตบังใจเรา ไม่ยอมให้ลุถึงซึ่งความดี ... หลายคนกว่าจะถึงดีมีสุข เจ้ากรรมนายเวรเคยจิตให้คิดผิด พูดผิด ทำก็ผิด ต้องตกระกำลำบากมาก เหตุเพราะเราทำเขาไว้นี่ เขาจองเวรเราก็ลำบาก จะรักษาศีล 5 ให้ถึงความดี ก็ทำไม่ได้สักที กาย วาจา ใจ ก็เลยไม่ปกติ ยังเกลือกกลั้วกับภัยเวร จึงเป็นทุกข์รำไป ...

เมื่อศีล 5 ไม่ครบ ภูมิจิตก็ตำกว่าความเป็นมนุษย์ หากโชคดีตกบันไดตายในขณะจิตนั้น ก็จะไปเกิดในภูมิที่ตำกว่ามนุษย์ คือ มีหวังได้ไปเห่าหอนหรือร้องโหยหวลตามวัดแน่ๆ จึงไม่ควรประมาท ... ครูบาอาจารย์จึงแนะนำเคล็ดลับ 3 ข้อ เพื่อเลี่ยงอบายภูมิต่างๆ ดังนี้

1. รักและเคารพบูชาคุณพระพุทธเจ้า พระธรรม พระอริยสงฆ์ ผู้ทรงคุณงามความดีถึงพร้อม...ระลึกรักษาไว้เป็นอารมณ์อยู่เสมอ จนรู้สึกลึกซึ้งในพระคุณของท่าน

2. ระลึกอยู้เสมอว่า ... ร่างกายคนและสัตว์สกปรกพอๆ กัน ต้องตายเหมือนกันทั้งหมด ... ร่างกายเป็นที่อาศัยของเราชั่วคราวเท่านั้น อย่าหลงใหลรูปกายนี้

3. เจริญพรหมวิหาร 4 มีเมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา เป็นอารมณ์เย็นอยู่เสมอ และพยายามรักษาศีล 5 ให้ครบสมบูรณ์ ตั้งจิตตรงเฉพาะพระนิพพานที่เดียว "เคล็ดลับ 3 ข้อนี้ ... ท่านให้รักษาไว้จนกว่าชีวิตจะหาไม่ ..."


ที่มา http://dharma.thaiware.com/dharma_article.php?id=146

พิธีรักษาศีลอุโบสถ ( ศีล 8 ) ชาวพุทธควรรู้

พิธีรักษาอุโบสถ

อุโบสถ หมายความว่า การจำศีล คือการรักษาศีล 8 เพื่อขัดเกลากิเลสหยาบๆ ให้เบาบาง มี 2 อย่าง คือ :
1. ปกติอุโบสถ เดือนละ 4 วัน คือ ขึ้น 8 ค่ำ, ขึ้น 15 ค่ำ, แรม 8 ค่ำ, แรม 14 ค่ำ ในเดือนเลขคี่
หรือแรม 15 ค่ำ ในเดือนเลขคู่ ( เดือนเลขคี่ เช่นเดือน 7, เดือนเลขคู่ เช่นเดือน 8 )
2. ปฏิชาครอุโบสถ คือ เพิ่มข้างหน้า 1 วัน ข้างหลัง 1 วัน รวมเป็นคราวละ 3 วัน เดือนละ 4 คราว,
จึงเป็นเดือนละ 12 วัน เช่น ปกติอุโบสถมีในวัน 8 ค่ำ เพิ่ม 7 ค่ำ และ 9 ค่ำ เข้ามา ก็เป็นปฏิชาครอุโบสถ
การรักษาศีล ๘ ข้อ ในวันที่กำหนดนี้ ชื่อว่า "รักษาอุโบสถ"

----------------------------------------------------------------------------------------------------------

การรักษาอุโบสถ มีพิธีต่อไปนี้

1. พึงตื่นนอนแต่ก่อนอรุณขึ้น เตรียมตัวให้สะอาดเรียบร้อย บูชาพระตั้งแต่รุ่งอรุณ
เปล่งวาจาด้วยตนเองก่อนว่า
"อิมัง อัฏฐังคะสะมันนาคะตัง พุทธะปัญญัตตัง อุโปสะถัง,
อิมัญจะ รัตติง อิมัญจะ ทิวะสัง สัมมะเทวะ อะภิรักขิตุง สะมาทิยามิ"
2. ไปวัด เข้าสู่โบสถ์ หรือวิหาร หรือศาลา เป็นต้น ซึ่งทางวัดจัดเตรียมไว้
ได้เวลาประมาณ 09.00 น. พระก็ลงโบสถ์ ทำวัตรเช้าจบแล้ว อุบาสก-อุบาสิกา ก็ทำวัตรเช้า
ทำวัตรจบแล้ว หัวหน้าอุบาสกนั่งคุกเข่า ประนมมือ ประกาศองค์อุโบสถ ว่า

"อัชชะ โภนโต ปักขัสสะ อัฏฐะมีทิวะโส (ถ้าวันพระ 15 ค่ำว่า ปัณณะระสีทิวะโส
14 ค่ำว่า จาตุททะสีทิวะโส) เอวะรูโป โข โภนโต ทิวะโส พุทเธนะ ภะคะวะตา ปัญญัตตัสสะ
ธัมมัสสะวะนัสสะ เจวะ ตะทัตถายะ อุปาสะกะอุปาสิกานัง อุโปสะถัสสะ จะ กาโล โหติ หันทะ มะยัง
โภนโต สัพเพ อิธะ สะมาคะตา ตัสสะ ภะคะวะโต ธัมมานุธัมมะปะฏิปัตติยา ปูชะนัตถายะ อิมัญจะ รัตติง
อิมัญจะ ทิวะสัง อัฏฐังคะสะมันนาคะตัง อุโปสะถัง อุปะวะสิสสามาติ กาละปะริจเฉทัง กัตวา ตัง ตัง
เวระมะณิง อารัมมะณัง กะริตวา อะวิกขิตตะจิตตา หุตวา สักกัจจัง อุโปสะถัง สะมาทิเยยยามะ
อีทิสัง หิ อุโปสะถัง สัมปัตตานัง อัมหากัง ชีวิตัง มา นิรัตถะกัง โหตุ"
คำแปล
ขอประกาศเริ่มเรื่องความที่จะสมาทานรักษาอุโบสถ อันพร้อมไปด้วยองค์แปดประการ
ให้สาธุชนที่ได้ตั้งจิตสมาทานทราบทั่วกันก่อน แต่สมาทาน ณ บัดนี้ ด้วยวันนี้เป็น วันอัฏฐะมีดิถีที่แปด
(ถ้าวันพระ 15 ค่ำว่า วันปัณณะระสีดิถีที่สิบห้า 14 ค่ำว่า วันจาตุททะสีดิถีที่สิบสี่) แห่งปักษ์มาถึงแล้ว
ก็แหละวันเช่นนี้ เป็นกาลที่สมเด็จพระผู้มีภาคเจ้าทรงบัญญัติแต่งตั้งไว้ ให้ประชุมกันฟังธรรม
และเป็นกาลที่จะรักษาอุโบสถของอุบาสก อุบาสิกาทั้งหลาย เพื่อประโยชน์แก่การฟังธรรมนั้นด้วย
เชิญเถิดเราทั้งหลายทั้งปวงที่ได้มาประชุมพร้อมกัน ณ ที่นี้ พึงกำหนดกาลว่าจะรักษาอุโบสถตลอดวันหนึ่ง
กับคืนหนึ่งนี้ แล้วพึงทำความเว้นโทษนั้น ๆ เป็นอารมณ์ คือ
เว้นจากฆ่าสัตว์ 1
เว้นจากลักฉ้อสิ่งที่เจ้าของเขาไม่ให้ 1
เว้นจากประพฤติกรรมที่เป็นข้าศึกแก่พรหมจรรย์ 1
เว้นจากเจรจาคำเท็จล่อลวงผู้อื่น 1
เว้นจากดื่มสุราเมรัยอันเป็นเหตุที่ตั้งแห่งความประมาท 1
เว้นจากบริโภคอาหาร ตั้งแต่เวลาพระอาทิตย์เที่ยงแล้วไปจนถึงเวลาอรุณขึ้นมาใหม่ 1
เว้นจากฟ้อนรำขับร้องและประโคมเครื่องดนตรีต่างๆ แด่บรรดาที่เป็นข้าศึกแก่บุญกุศลทั้งสิ้น
และทัดทรงประดับตกแต่งร่างกายด้วยดอกไม้ของหอม เครื่องประดับ เครื่องทา เครื่องย้อม
ผัดผิวทำกายให้วิจิตรงดงามต่างๆ อันเป็นเหตุที่ตั้งแห่งความกำหนัดยินดี 1
เว้นจากนั่งนอนเหนือเตียงตั่งม้าที่มีเท้าสูงเกินประมาณ และที่นั่งที่นอน ใหญ่ ภายในมีนุ่นและสำลี
และเครื่องปูลาดที่วิจิตรด้วยเงินและทองต่างๆ 1

อย่าให้มีจิตฟุ้งซ่านส่งไปอื่น พึงสมาทานเอาองค์อุโบสถทั้งแปดประการโดยเคารพ
เพื่อจะบูชาสมเด็จพระผู้มีพระภาคพระพุทธเจ้านั้นด้วยธรรมมานุธรรมปฏิบัติ อนึ่ง ชีวิตของเราทั้งหลายที่ได้เป็นอยู่รอด
มาถึงวันอุโบสถเช่นนี้ จงอย่าได้ล่วงไปเสียเปล่าจากประโยชน์เลย

เมื่อประกาศใกล้จบ พระผู้แสดงธรรมขึ้นนั่งบนธรรมาสน์, อุบาสก-อุบาสิกาทุกคนคุกเข่ากราบ 3 ครั้ง
แล้วกล่าวคำอาราธนา (ขอ) อุโบสถศีล ว่า
"มะยัง ภันเต ติสะระเณนะ สะหะ อัฏฐังคะสะมันนาคะตัง, อุโปสะถัง ยาจามะ (ว่า 3 จบ)"

รับศีลอุโบสถ แล้วว่าตามพระสงฆ์ที่บอกเป็นตอนๆ ว่า
นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ (3 จบ)
พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ
ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ
สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ
ทุติยัมปิ พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ
ทุติยัมปิ ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ
ทุติยัมปิ สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ
ตะติยัมปิ พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ
ตะติยัมปิ ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ
ตะติยัมปิ สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ

เมื่อพระสงฆ์ว่า ติสะระณะคะมะนัง นิฏฐิตัง พึงรับพร้อมกันว่า อามะ ภันเต
1. ปาณาติปาตา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ
2. อะทินนาทานา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ
3. อะพรัหมะจะริยา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ
4. มุสาวาทา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ
5. สุราเมระยะมัชชะปะมาทัฏฐานา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ
6. วิกาละโภชะนา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ
7. นัจจะคีตะวาทิตะวิสูกะทัสสะนา มาลาคันธะวิเลปะนะธาระณะ มัณฑะนะวิภูสะนัฏฐานา เวระมะณี
สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ
8. อุจจาสะยะนะมะหาสะยะนา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ
อิมัง อัฏฐังคะสะมันนาคะตัง, พุทธะปัญญัตตัง อุโปสะถัง, อิมัญจะ รัตติง อิมัญจะ ทิวะสัง,
สัมมะเทวะ อะภิรักขิตุง สะมาทิยามิ (หยุดรับเพียงเท่านี้)

ตอนนี้ พระสงฆ์จะว่า อิมานิ อัฏฐะ สิกขาปะทานิ อุโปสะถะวะเสนะ มะนะสิกะริตวา สาธุกัง อัปปะมาเทนะ รักขิตัพพานิ
(พึงรับพร้อมกันว่า) อามะ ภันเต (พระสงฆ์ว่าต่อ)
สีเลนะ สุคะติง ยันติ สีเลนะ โภคะสัมปะทา
สีเลนะ นิพพุติง ยันติ ตัสมา สีลัง วิโสธะเย

อุบาสก-อุบาสิกา กล่าวคำว่า " สาธุ" กราบ 3 ครั้ง นั่งราบ ประนมมือฟังธรรมต่อไป

เมื่อพระแสดงธรรมจบ ทุกคนให้สาธุการ และสวดประกาศตนพร้อมกันว่า
สาธุ สาธุ สาธุ
อะหัง พุทธัญจะ ธัมมัญจะ สังฆัญจะ สะระณัง คะโต (หญิงว่า คะตา)
อุปาสะกัตตัง (หญิงว่า อุปาสิกัตตัง) เทเสสิง ภิกขุสังฆัสสะ สัมมุขา
เอตัง เม สะระณัง เขมัง เอตัง สะระณะมุตตะมัง
เอตัง สะระณะมาคัมมะ สัพพะทุกขา ปะมุจจะเย
ยะถาพะลัง จะเรยยาหัง สัมมาสัมพุทธะสาสะนัง
ทุกขะนิสสะระณัสเสวะ ภาคี อัสสัง (หญิงว่า ภาคินิสสัง) อะนาคะเต
(เสร็จพิธีตอนเช้าเพียงเท่านี้)

--------------------------------------------------------------------------------------------------------

ถวายภัตตาหารเพลแด่พระสงฆ์ ตนเองก็รับประทานอาหารให้เสร็จก่อนเที่ยง,
ครั้นถึงเวลาบ่ายหรือเย็น (ประมาณ 15.00 น. หรือสุดแล้วแต่จะนัดกัน)
ประชุมกันทำวัตรค่ำ, ถ้ามีพระมาเทศน์โปรด หัวหน้าอุบาสกคุกเข่ากราบพระ 3 ครั้ง กล่าวคำอาราธนาพิเศษหรือธรรมดา

คำอาราธนาธรรม (พิเศษ)
จาตุททะสี ปัณณะระสี ยา จะ ปักขัสสะ อัฏฐะมี
กาลา พุทเธนะ ปัญญัตตา สัทธัมมัสสะวะนัสสิเม
อัฏฐะมี โข อะยันทานิ สัมปัตตา อะภิลักขิตา
เตนายัง ปะริสา ธัมมัง โสตุง อิธะ สะมาคะตา
สาธุ อัยโย ภิกขุสังโฆ กะโรตุ ธัมมะเทสะนัง
อะยัญจะ ปะริสา สัพพา อัฏฐิกัตวา สุณาตุ ตันติ
หมายเหตุ : วัน 8 ค่ำ ว่า อัฏฐะมี โข... วัน 14 ค่ำ ว่า จาตุททะสี... วัน 15 ค่ำ ว่า ปัณณะระสี...

คำอาราธนาธรรม (ธรรมดา)
พรหฺมา (อ่านว่า พรัม-มา) จะ โลกาธิปะตี สะหัมปะติ
กัตอัญชะลี อันธิวะรัง อะยาจะถะ
สันตีธะ สัตตาปปะระชักขะชาติกา
เทเสตุ ธัมมัง อะนุกัมปิมัง ปะชัง

เมื่อพระเทศน์จบ ทุกคนพึงให้สาธุ สวดประกาศตนเหมือนภาคเช้าและสวดคำขอขมาพระรัตนตรัยว่า
กาเยนะ วาจายะ วะ เจตะสา วา พุทเธ กุกัมมัง ปะกะตัง มะยา ยัง พุทโธ ปะฏิคคัณหะตุ อัจจะยันตัง
กาลันตะเร สังวะริตุง วะ พุทเธ (กล่าวครั้งที่ 2 เปลี่ยน พุทเธ เป็น ธัมเม ครั้งที่ 3 เป็น สังเค)

--------------------------------------------------------------------------------------------------------

เมื่อเสร็จพิธีภาคเช้าหรือภาคค่ำแล้ว ก่อนจะกลับบ้าน พึง กล่าวคำลาต่อพระผู้เทศน์ ว่า
"หันทะทานิ มะยัง ภันเต อาปุจฉามะ, พะหุกิจจา มะยัง พะหุกะระณียา"
พระผู้เทศน์ ถ้ามีพรรษาสูงสุดกว่าองค์อื่นๆ ในที่ประชุมนั้น พึงกล่าวคำอนุญาต
แต่ถ้ามีพรรษาน้อย ก็ต้องให้พระองค์ที่มีพรรษาสูงสุดเป็นผู้กล่าวคำอนุญาตว่า
"ยัสสะทานิ ตุมเห กาลัง มัญญะถะ"
ผู้ลาพึงรับว่า สาธุ ภันเต แล้วกราบ 3 ครั้ง เป็นอันเสร็จพิธีบริบูรณ์

เรียบเรียงจาก http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=13263

อานิสงส์การสร้างพระพุทธรูป

คำสอนของพระเดชพระคุณหลวงพ่อฤาษีลิงดำ(พระราชพรหมยาน) วัดท่าซุง อ.เมือง จ.อุทัยธานี เกี่ยวกับอานิสงส์การสร้างพระพุทธรูป
การสร้างพระพุทธรูปจัดว่าเป็น พุทธบูชา ถ้าในกรรมฐานจัดว่าเป็นพุทธานุสสติกรรมฐาน (การระลึกถึงคุณของพระพุทธเจ้าเป็นอารมณ์) ถ้าตายจากคนไปเกิดเป็นเทวดา มีรัศมีกายสว่างไสวมาก
การสร้างพระถวายด้วยอำนาจพุทธบูชาทำให้มีรัศมีกายมากเป็นคนสวย ตามที่พระพุทธเจ้าตรัสว่า
"พุทธะปูชา มะหาเตชะวันโต" แปลว่า "การบูชาพระพุทธเจ้ามีเดชอำนาจมาก"
การสร้างพระพุทธรูปนี่เป็นพุทธบูชาเป็นพุทธานุสสติในกรรมฐาน ๔๐ กอง ท่านบอกว่ากำลังของพุทธานุสสติเป็นเหตุให้เข้าถึงนิพพานได้ง่ายที่สุด ง่ายกว่ากองอื่นก็เห็นจะจริง เพราะว่าพระพุทธเจ้าท่านอยู่ที่นิพพานนี่ และท่านก็เป็นต้นตระกูลของพระนิพพาน ทีนี้เมื่อเราต้องการสร้างพระพุทธรูปให้สวยตามที่เราชอบเห็นแล้วก็ทำให้จิตใจสดชื่น จิตมันก็นึกถึงพระอยู่เสมอ ถ้าจิตนึกถึงพระพุทธรูปองค์นั้นอยู่เสมอก็จัดเป็นพุทธานุสสติกรรมฐาน ถ้าใจเราเกาะพระพุทธเจ้าเป็นปกติ ตายแล้วลงนรกไม่เป็น ฉะนั้นถ้าเราชอบพระแบบไหนปางไหน ก็ให้สร้างอย่างที่เราชอบจิตจะได้เกิดศรัทธา
หลวงพ่อปานวัดบางนมโคแนะนำว่าควรหันหน้าพระบูชาไปทางทิศตะวันออกหรือทิศเหนือ ไม่ควรหันหน้าพระบูชาไปทางทิศตะวันตก หรือทิศใต้ เพราะจะทำให้สตางค์ไม่เหลือใช้
ส่วนอานิสงส์การสร้างแท่นพระนั้น ก็มีอานิสงส์เหมือนกับการสร้างพระพุทธรูป คือแท่นพระพุทธรูปเขาบกพร่องอยู่ เราทำให้เต็ม อย่างที่นางวิสาขาหรือพระสิวลีได้เคยทำมาในอดีตชาติ อานิสงส์ไม่ใช่เล็กน้อยนะ อานิสงส์ใหญ่มาก จะเกื้อหนุนให้รวย วาสนาบารมีสูง การสร้างแท่นพระหนุนพระพุทธรูป ซึ่งเป็นตัวแทนของพระพุทธเจ้าให้สูงน่ะ จะทำให้ฐานะของเราดีขึ้น
ครั้งหนึ่งมีญาติโยมถามหลวงพ่อฤาษีลิงดำเรื่องการชำระหนี้สงฆ์ว่าถ้าหากนับรวมหลาย ๆ ชาติเราไม่รู้ว่าเคยล่วงเกินของสงฆ์มามากน้อยเท่าไหร่ จะทำอย่างไรจึงจะชำระหนี้สงฆ์ได้หมด หลวงพ่อท่านกำหนดสมาธิจิตถามพระพุทธเจ้า ก็ปรากฏนิมิตเป็นพระพุทธเจ้าลอยมาตอบคำถามท่านว่า "ถ้าจะชำระให้ครบถ้วนเป็นเงินเท่าไหร่ก็ไม่พอ ให้สร้างพระพุทธรูปหน้าตัก ๔ ศอก" พระหน้าตัก ๔ ศอก ถือว่าเป็นพระประธานมาตรฐาน ท่านบอกว่า "พระพุทธรูปนี่ไม่มีใครตีราคาได้ ใช้ในการชำระหนี้สงฆ์ หนี้สงฆ์ที่แล้ว ๆ มา ถือเป็นการหมดกันไป" เมื่อถามว่าการสร้างพระองค์หนึ่งชำระหนี้สงฆ์ได้คนเดียวหรือกี่คน ท่านก็บอกว่า "ถ้าไม่ปิดทองได้คนเดียว ถ้าปิดทองครบถ้วนได้ทั้งคณะ" คำว่า "คณะ" หมายความว่าบุคคลหลายคนก็ได้ ตัดบาปเก่าชำระหนี้สงฆ์เก่า ๆ ได้หมด แต่ถ้าสร้างหนี้ใหม่ต่อก็เป็นหนี้ใหม่เหมือนกันนะ
เวลาถวายสังฆทานเพื่ออุทิศให้แก่ผู้ตาย อย่างน้อยควรมีพระพุทธรูปหน้าตักกว้าง ๕ นิ้วขึ้นไป ผู้ที่อนุโมทนารับบุญรับกุศลจะมีรัศมีกายสว่างมาก เพราะเทวดาหรือพรหมเขาแบ่งฐานะกันตามความสว่างของร่างกาย ไม่ได้ดูที่เครื่องแต่งตัว ถ้ามีผ้าจีวรด้วย ผู้อนุโมทนาจะมีเครื่องประดับสวยงามกว่าเดิม ถ้ามีอาหารด้วย ความเป็นทิพย์ของร่างกายจะดีกว่าเก่า
อานิสงส์การสร้างพระพุทธรูป นำมาจากหนังสือ "หลวงพ่อตอบปัญหาธรรม ฉบับพิเศษ เล่ม ๑" โดยพระราชพรหมยาน วัดจันทาราม (ท่าซุง) อ.เมือง จ.อุทัยธานี จัดทำโดย เจ้าหน้าที่ธัมมวิโมกข์

วันอาทิตย์ที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2552

ให้คำปรึกษาทางจิตวิทยาค่ะ

ใครที่มีความกังวล เครียด ไม่สบายใจเข้ามาคุยกับเราได้นะคะที่บล๊อกนี้

วันพุธที่ 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2552

คิดบวก อะไรก็บวก

เป็นกำลังใจให้คุกคนที่มีความทุกข์อยู่ ในเวลานี้ มองในแง่ดี ในแง่บวก
รู้ไหมคะว่า การที่เรามองในแง่บวกนั้น